ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนและปฏิสัมพันธ์ที่เกิดขึ้นข้ามเขตพรมแดนของรัฐ ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยรัฐหรือตัวแสดงอื่น ๆ ที่ไม่ใช่รัฐ ซึ่งส่งผลถึงความร่วมมือหรือความขัดแย้งระหว่างประเทศต่าง ๆ ในโลก
ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล กลุ่มบุคคล หรือสังคม ซึ่งเกิดขึ้นข้ามขอบเขตของกลุ่มสังคมการเมืองหนึ่ง ๆ ในกรณีความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยด้วยกัน หรือกลุ่มคนไทยด้วยกันในประเทศไทย ไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างคนไทยกับคนลาวถือว่าเป็นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับความร่วมมือ และความขัดแย้งระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบกระเทือนการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขในสังคมโลก
วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
การเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติและในสังคม
คุณลักษณะ 1. เคารพกฎหมายและปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม
เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน
เมื่อพลเมืองทุกคนปฎิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับของสังคม และบทบัญญัติของกฎหมาย เช่น ไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไม่กระทำความผิดตามที่กฎหมายกำหนดก็จะทำให้รัฐไม่ต้องเสียงบประมาณในการป้องกัน ปราบปรามและจับกุมผู้ที่กระทำความผิดมาลงโทษ นอกจากนี้ยังทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบสงบสุขทุกคนอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ไม่หวาดระแวงคิดร้ายต่อกัน
การปกครองระบอบประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยเป็นรูปแบบการปกครองและวิธีการดำเนินชีวิต ซึ่งยึดหลักของความเสมอภาค เสรีภาพและศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ การปกครองระบอบประชาธิปไตยถือว่าทุกคนมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน และอำนาจอธิปไตยต้องมาจากปวงชน
คำว่า ประชาธิปไตย เป็นศัพท์ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากในโลกปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ แม้จะมีรูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็อ้างว่าประเทศของตนเป็นประชาธิปไตยกันทั้งสิ้น
คำว่า ประชาธิปไตย เป็นศัพท์ที่นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากในโลกปัจจุบัน เป็นที่น่าสังเกตว่าประเทศต่างๆ แม้จะมีรูปแบบการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมที่แตกต่างกัน แต่ต่างก็อ้างว่าประเทศของตนเป็นประชาธิปไตยกันทั้งสิ้น
สิทธิมนุษยชนในสังคมไทย
สิทธิ มนุษยชน หมายถึง สิทธิขั้นพื้นฐานที่พึงมีโดยเสมอภาคกัน เพื่อการดำรงชีวิตได้อย่าง มีศักดิ์ศรีมีโอกาสเท่าเทียมกันในการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของตนเองอย่าง เต็มที่และสร้างสรรค์ ดังนั้นจึงเป็นสิทธิที่ได้มาพร้อมกับการเกิดและเป็นสิทธิติดตัวบุคคลนั้น ตลอดไปไม่ว่าจะอยู่ในเขตปกครองใด หรือเชื้อชาติ ภาษา ศาสนาใด ๆ
สิทธิ มนุษยชน หมายถึงแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์ที่ว่า มนุษย์นั้นมีสิทธิหรือสถานะสากล ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับขอบเขตของกฎหมาย หรือปัจจัยท้องถิ่นอื่นใด เช่น เชื้อชาติ หรือ สัญชาติ
จาก ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ข้อ 1 กล่าว ว่า "มนุษยทั้งหลายทั้งหลายเกิดมามีอิสระเสรี เท่าเทียมกันทั้งศักดิ์ศรีและสิทธิ ทุกคนได้รับการประสิทธิ์ประสาทเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันอย่างฉันพี่น้อง"[1]
ความ ดำรงอยู่ ความถูกต้อง และเนื้อหาของสิทธิมนุษยชน เป็นหัวข้อที่เป็นที่โต้เถียงกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในทางปรัชญาและรัฐศาสตร์ ตามกฎหมายแล้ว สิทธิมนุษยชนได้ถูกบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศ และในกฎหมายภายในของหลายรัฐ อย่างไรก็ตาม สำหรับคนจำนวนมากแล้ว หลักการของสิทธิมนุษยชนนั้นกินขอบเขตเลยไปกว่ากฎหมาย และก่อร่างขึ้นเป็นหลักศีลธรรมพื้นฐานสำหรับวางระเบียบภูมิศาสตร์การเมือง ร่วมสมัย สำหรับคนกลุ่มนี้แล้ว สิทธิมนุษยชนคือความเสมอภาคในอุดมคติ
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับตัวเองและครอบครัว ชุมชน ประเทศชาติ
1. ความหมายของกฎหมาย
กฎหมาย คือ กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม
2. ความสำคัญของกฎหมาย
2.1 เพื่อสร้างความสงบเรียบร้อยในสังคม กิจกรรมที่เกิดขึ้นในประเทศ จะมีทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง
2.2 เพื่อควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในสังคมให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
2.3 เพื่อปกป้องและรักษาชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ความหมายและความสำคัญของวัฒนธรรม
วัฒนธรรม เป็นแบบแผนที่ครอบคลุมวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ วัฒนธรรมพื้นฐานและความจำเป็นของมนุษย์ ได้แก่ ภาษา ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน ปัจจัยสี่ คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค สำหรับการปรับตัว แก้ปัญหา พัฒนาวิถีการดำเนินชีวิต และตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทั้งทางกาย เช่น การสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ และทางใจ เช่น ศาสนา ประเพณี ความเชื่อต่างๆ เป็นต้น
สังคมของเรา
สาระการเรียนรู้
1.โครงสร้างสังคม
-การจัดระเบียบทางสังคม
-สถาบันทางสังคม
2.การขัดเกลาทางสังคม
3.การเปลี่ยนแปลงทางสังคม
4.การแก้ปัญหาและแนวทางการพัฒนาสังคม
บทนำ
แนวคิด ที่มา และความสำคัญ
ปัจจุบันในประเทศไทยของเรานั้น มีการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ทำให้มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนมากขึ้น ซึ่งก็ทำให้คนไทยบางส่วนไม่สนใจในเรื่องของของสิทธิมนุษยชนสักเท่าไร เพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
สังคมไทยของเรานี้ก็มีการจัดระเบียบของสังคมเพื่อเพื่อให้การติดต่อสัมพันธ์เป็นไปอย่างเรียบร้อย ป้องกันความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคมและยังช่วยให้สังคมดำรงอยู่อย่างสงบสุรวมทั้งยังมีการขัดเกลาทางสังคมซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้รู้จักบทบาทต่าง ๆ ในสังคม และเพื่อปลูกฝังระเบียบวินัย
เราทุกคนต้องมีบทบาทในตนเองคือต้องปฏิบัติตามหน้าที่และการแสดงพฤติกรรมตามสถานภาพ
วัตถุประสงค์
1) เพื่อศึกษาและพัฒนาความรู้ในเรื่องสังคมของเรา
2) เพื่อศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจเกี่ยวกับสังคมของเรามากขึ้น
3) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาความรู้ ในเรื่องสังคม และวัฒนธรรมได้ด้วยตนเอง และนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับการเรียนรู้ของตนเองมากยิ่งขึ้น
4) เพื่อให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ระหว่างครู เพื่อน และผู้สนใจทั่วไปขอบเขตของโครงงาน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)